May 31st, 2017

รถดำนาแบบปักดำ และการเพาะกล้า รุ่นใหม่เป็นเทคโนโลยีที่เกษตรกรรอคอยมานาน ซึ่งเกิดขึ้นจากความต้องการใช้งานในพื้นที่จริง

เทคโนโลยีการ "ปักดำ" ของยันม่าร์ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล
"เทคโนโลยีความหลากหลายใหม่ล่าสุดทางการเกษตรประจำปี 2016" โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง
ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้เป็นอย่างมาก โดยการลดจำนวนของถาดเพาะเมล็ด และลดต้นทุนวัสดุ
ประหยัดค่าแรงงาน และลดต้นทุนการปลูกข้าวรวมไปถึงช่วยขยายอัตราส่วนพื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น
การสาธิตที่จัดขึ้นในงานแสดงในนิทรรศการได้ปลุกกระแสความสนใจไปทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น

ในโอกาสนี้ Y MEDIA ได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีการปักดำและรถดำนาที่พัฒนาขึ้นให้เหมาะสำหรับการหว่านเมล็ดข้าว เราได้สัมภาษณ์คุณโดอิ และ คุณซาวาโมโตะ ฝ่ายธุรกิจการเกษตรจากสำนักงานใหญ่
ซึ่งเป็นผู้ที่มุ่งมั่นในการสร้างเทคโนโลยีการปักดำ รวมไปถึงคุณมิยาเกะ และคุณนากามูระ ผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนา "การเพาะกล้า" ที่นำมาปรับใช้กับรถดำนา YR-D Series รุ่นใหม่

คุนิโอะ โดอิ
ผู้จัดการโครงการอาวุโส กลุ่มพัฒนาตลาดเชิงกลยุทธ์ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจเกษตรบริษัท ยันม่าร์ จำกัด

ร่วมงานกับยันม่าร์ ในปีพ.ศ.2541 หลังจากมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดข้าวเป็นเวลา 3 ปี
คุณโดอิได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนารถดำนา ด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปี ปัจจุบันเขามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของรถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว และรถดำนา ซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีรถดำนาขั้นสูงมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2552

คาสุโนริ ซาวาโมโตะ
วิศวกรอาวุโส หัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีการเพาะปลูกศูนย์วิจัยทางการเกษตร แผนกการพัฒนา
สำนักงานใหญ่ฝ่ายธุรกิจการเกษตรบริษัท ยันม่าร์ จำกัด

ร่วมงานกับยันม่าร์ ในปีพ.ศ 2559 ก่อนหน้านี้ทำงานให้กับศูนย์วิจัยการเกษตรและป่าไม้จังหวัดอิชิคะวะ
ปัจจุบันมีส่วนร่วมในการวิจัยการดำนา เข้าร่วมในการเพาะปลูกแบบปักดำตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2555

โคจิ มิยาเกะ
วิศวกรอาวุโส กลุ่มการพัฒนาระบบไอทีขั้นสูง ฝ่ายพัฒนาศูนย์วิจัยทางการเกษตร
สำนักงานใหญ่ฝ่ายธุรกิจการเกษตรบริษัท ยันม่าร์ จำกัด

ร่วมงานกับยันม่าร์ ในปี พ.ศ. 2542 ตั้งแต่เข้าร่วมงาน คุณมิยาเกะ มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง รับผิดชอบด้านการพัฒนารถดำนามาโดยตลอด ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 ปัจจุบันทำงานในฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เปิดตัวรถดำนา (YR) รุ่นใหม่

โชอิจิ นากามูระ
ฝ่ายพัฒนาระบบไอทีขั้นสูง ศูนย์วิจัยทางการเกษตร แผนกการพัฒนา สำนักงานใหญ่ฝ่ายธุรกิจการเกษตรบริษัท ยันม่าร์ จำกัด

ร่วมงานกับยันม่าร์ ในปีพ.ศ. 2554 มีส่วนร่วมในการออกแบบรถดำนาตั้งแต่เข้าร่วมทำงานให้กับทางบริษัท
คุณนากามูระพร้อมด้วยวิศวกรหลักรับผิดชอบการออกแบบในขั้นตอนสุดท้ายของรถดำนาแบบปักดำต้นกล้า

การพัฒนารถดำนาแบบปักดำเริ่มต้นจากความต้องการของกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าว

"เป็นไปได้หรือไม่ที่จะลดต้นทุนการหว่านเมล็ดข้าวจำนวนมาก พร้อมทั้งลดจำนวนถาดเพาะลงด้วย"

การพัฒนารถดำนาแบบปักดำของยันม่าร์ เริ่มมาจากความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีความสนใจในการเกษตรที่ประหยัดแรงงาน ทันสมัย มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามเครื่อง
ดำนาที่สามารถหว่านเมล็ดข้าวขนาดเล็ก จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพของการหว่าน ดังนั้นประสิทธิภาพของเครื่องดำนาที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอ ด้วยความ
ต้องการนั้น ยันม่าร์จึงได้พัฒนาเครื่องดำนาที่สามารถหว่านเมล็ดได้ โดยการร่วมมือกับศูนย์วิจัยการเกษตรและป่าไม้จังหวัดอิชิคะวะ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า ศูนย์วิจัยการเกษตรอิชิคะวะ) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการจัดตั้งเทคโนโลยีการเพาะปลูก ในความร่วมมือกับสมาคมความร่วมมือเกษตรกร Agri-Star Onaga และ Butta Agricultural Products Corp. ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิด เราจึงทำการเปิดตัวโครงการวิจัยร่วมในปีพ.ศ 2555

ในปีแรก ไม่มีเครื่องใดใช้การได้เลย ดังนั้นเราจึงจัดการทดสอบขั้นต้นโดยใช้รถดำนายันม่าร์ รุ่นก่อนๆ เพื่อทดลองปลูกในจำนวนหนึ่ง เนื่องจากการทดสอบขั้นต้นได้รับการตอบรับในเชิงพาณิชย์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2556 ยันม่าร์จึงใช้เทคโนโลยีการดำนาและปักดำต้นกล้าที่ปรับแต่งแล้วอย่างเต็มรูปแบบ ณ ศูนย์วิจัยการเกษตรอิชิคะวะ เราได้ทำการทดสอบการหว่าน การปักดำขยายพันธุ์ต้นกล้า และทดสอบรถดำนา โดยทดลองใช้เมล็ดพันธุ์ 3 แบบคือ 200 กรัม. 250 กรัม. และ 300 กรัม.

ตั้งแต่ปีพ.ศ.2556 เราได้วิจัยปัจจัยแวดล้อมในการเพาะปลูก และสาเหตุของความผิดพลาดในการเพาะปลูกจากมุมมองของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เราได้รับผลลัพธ์ที่เปรียบเทียบการเติบโตและผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐานและมีคุณภาพ

งานสาธิตที่จัดขึ้น ณ โชว์รูมของผู้แทนจำหน่ายประสบความสำเร็จอย่าง
มาก "เป็นฤดูการสาธิตที่ไม่เคยสนุกแบบนี้มาก่อน"

ในปีพ.ศ. 2559 ได้ทำการสาธิต ทดสอบการหว่านต้นกล้าที่มีความหนาแน่นสูง ให้กับเกษตรกรในจังหวัดอิชิกาวะจำนวน 342 แห่ง โดยใช้ 51 สายพันธุ์ทั่วประเทศตั้งแต่จังหวัดอะโอะโมะริ ไปจนถึงจังหวัดคะโงะชิมะ

เพื่อเป็นการตอบรับต่อการชื่นชมอย่างมากสำหรับเทคโนโลยีการเพาะกล้าที่มีความหนาแน่นสูงของเรา เราจึงได้เปิดตัว YR Series
ซึ่งได้ผลเกิดคาด ผู้แทนจำหน่ายของเราตื่นเต้นมาก พวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เป็นการสาธิตที่สนุกมาก ไม่เคยสนุกแบบนี้มาก่อน"

ภาพกิจกรรมนิทรรศการให้ความรู้ในการเพาะเมล็ดที่จัดแสดง ณ จังหวัดนีงาตะ เมื่อวันที่ 25-26 พฤศจิกายน
ผลตอบรับที่ได้เกินความคาดหมายของเรา
ทุกที่นั่งในห้องบรรยายมีผู้สนใจนั่งเต็มจนบางส่วนต้องยืนฟัง
งานนิทรรศการที่จัดแสดงในจังหวัดชิงะ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ลูกค้าหลายท่านตั้งใจมาเยี่ยมชมมุมเพาะต้นกล้าจำนวนมากเป็นพิเศษ

การสาธิต ณ สาขาของผู้แทนจำหน่ายของเราประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสนใจเป็นอย่างมากในเทคโนโลยีการปักดำ

เรายินดีที่ได้รับรู้ว่าลูกค้าที่ได้รับชมการสาธิตจากเราต่างบอกว่า "ฉันจะซื้อรถดำนา"
"ปีหน้าฉันจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องปักดำ"

การปรับขนาดหัวคีบให้เล็กลง ช่วยให้การปักดำมีความแม่นยำขึ้น

เรามุ่งมั่นในการพัฒนารถดำนาที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบปักดำ ควบคู่ไปกับการสาธิตการทดสอบเทคโนโลยีการปักดำ
โดยเริ่มจากการปรับขนาดหัวคีบให้เล็กลงและปรับความจุของถาดเพาะเมล็ดให้พอดี สามารถคีบต้นกล้าขนาดเล็กได้แม่นยำยิ่งขึ้น
เพื่อความแข็งแกร่งของหัวคีบ เราได้ปรับปรุงกระบวนการชุบเหล็กให้ชิ้นส่วนแข็งขึ้น และเพิ่มความจุของถาดเพาะเมล็ดซึ่งเดิมจุได้ 26 ถาด ปัจจุบันปรับให้จุได้ถึง 30 ถาด

เนื่องจากเทคโนโลยีปักดำนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งเกินความคาดหมายของเรา บางครั้งก็กลายเป็นความวุ่นวาย
ถึงแม้ว่าเราวางแผนไว้ว่าจะจำหน่ายชุดเครื่องมือสำหรับติดตั้งกับรถดำนาของลูกค้า แต่เนื่องจากเป็นที่ต้องการในตลาด เราจึงตัดสินใจว่าจะประกอบตัวเครื่องหลักพร้อมปรับตามข้อมูลจำเพาะต่างๆ ที่โรงงานก่อนที่จะทำการจัดส่ง

เราลงทุนลงแรงเป็นอย่างมากในการทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จเป็นรูปเป็นร่าง
รวมถึงการออกแบบบางชิ้นส่วนใหม่

ถึงแม้การตอบคำถามเรื่องต่างๆ ทำให้เรายุ่งกันมาก แต่เมื่อเราไปถึงจุดจำหน่าย ตัวแทนของเราก็สามารถแนะนำเทคโนโลยี
การเพาะกล้าและรถดำนาที่ใช้งานร่วมกับระบบของเราได้อย่างมั่นใจ และรายงานผลกลับมาถึงเราว่าลูกค้าเหล่านั้นพึงพอใจมากเช่นกัน

สรรค์สร้างวิธีการใหม่ๆ ร่วมกัน

การรับฟังความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ เบื้องหลังความสำเร็จของเทคโนโลยีการเพาะกล้ามาจาก "ความพยายามร่วมกัน ของเรารวมถึงการผลิตเครื่องจักรและการทดลองต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลการเพาะปลูกของยันม่าร์ นำไปสู่การพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นที่นิยมในแปลงนา"

คุณซาวาโมโตะกล่าว เมื่อมองกลับไปยังโครงการ และสุดท้ายนี้ คุณโดอิ...

เราได้รับผลลัพธ์ที่ดีอย่างมาก ที่สามารถสร้างการทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับเกษตรกรที่ต้องการใช้งานจริง แนวคิดมากมายที่นำไปพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มาจากการสนทนา พูดคุย

คุณโดอิอธิบาย

ในวันที่สรรค์สร้างวิธีการใหม่ ๆ ร่วมกันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สินค้าใหม่ของยันม่าร์จะเป็นรูปร่างในไม่ช้านี้