การจัดการที่ญี่ปุ่น

วิทยานิพนธ์/เรียงความที่ให้รางวัลแก่นักศึกษา

หัวข้อ

การเติบโตของ “เกษตรกรรม (Agriculture)” สู่ “อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร (Food-Value-chain)”

จุดมุ่งหมาย

ปี พ.ศ. 2533 (ปี ค. ศ. 1990) ซึ่งเป็นปีที่ต้อนรับสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมของญี่ปุ่น แม้กระทั่งในช่วงเวลาที่ยากลำบาก กลุ่มยันม่าร์ของพวกเรามีความฝันและความคาดหวังเพื่อการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และเริ่มรู้สึกว่ามีครอบครัวเกษตรกรและกลุ่มคนที่มุ่งมั่นจะทดลองและท้าทายก่อนใครถือกำเนิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ และได้ส่งคำพูดผลักดันถึงอนาคตอย่างกระตือรือร้น โดยมีสโลแกนว่า [การเปลี่ยนแปลงที่น่าดึงดูดใจ/ความรับผิดชอบต่อเกษตรกรรมญี่ปุ่น]

อีกด้านหนึ่งได้มี [โครงการประกวดวิทยานิพนธ์/เรียงความที่ให้รางวัลแก่นักศึกษา] ที่เริ่มต้นขึ้นเพื่อให้คนหนุ่มสาวที่จะแบกรับภาระในยุคสมัยถัดไป ได้มีการถกเถียงในเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรมและหมู่บ้านเกษตรกรรม

สภาพแวดล้อมที่อยู่รายล้อมเกษตรกรรมของญี่ปุ่นและทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อย่างรวดเร็ว การที่จะให้เกษตรกรรมคงอยู่ต่อไปนั้น สิ่งสำคัญก็คือมีวิธีการรองรับอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงในตอนนี้ ประชากรโลกเจ็ดหมื่นล้านคนในปัจจุบัน จะเพิ่มขึ้นถึงเกือบแสนล้านคนภายในปี พ.ศ. 2593 (ปี ค. ศ. 2050) ปัจจุบันอุปสงค์ด้านอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่ดินที่สามารถใช้ทำการเกษตรได้ในโลกก็เหลือไม่มาก หากมีการบุกเบิกที่ดินสำหรับเพาะปลูกใหม่ ก็คงนำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่า หรือมีปัญหาอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา ผู้ผลิตภาคเกษตรกรรมจำนวนน้อยในทุกภูมิภาค จะต้องจัดการกับอุปสงค์ด้านอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างที่มีความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ, ประชากรย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ และประชากรภาคการเกษตรลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้นหากไม่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสภาพเกษตรกรรมและวิธีการผลิตอาหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพื่อมุ่งสู่อนาคตแล้ว ก็คงจะไม่มีอนาคตที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน (A Sustainable Future)

ภายในสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มยันม่าร์ของพวกเรา จะดำเนินการในเรื่อง [ยอดผลิต] และ [การหมุนเวียนทรัพยากร] ที่แสวงหามาจนถึงตอนนี้ ต่อเนื่องจากนี้ และมุ่งสู่ระดับที่สูงมากขึ้นไปอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น จะดำเนินการจัดการเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและแสวงหา [ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (รูปแบบของเกษตรกรรมมีกำไร, สร้างมูลค่าเพิ่มทางเกษตรกรรมและสินค้าที่ผลิต)] ทั้งเกษตรกรรมและสินค้าที่ผลิต เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการดูแลรักษาสุขภาพและรักษาชีวิตของผู้คน อีกทั้งเป็นโครงสร้างที่ทำให้เกิดผลกำไรในอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ด้วยเหตุนี้จึงอยากจะคิดเรื่อง [ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ] ซึ่งเป็นรูปแบบของเกษตรกรรมมีกำไร ร่วมกับคนหนุ่มสาวที่จะแบกรับภาระในยุคสมัยถัดไปทุกท่าน โดยการเข้าสู่ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ที่มีตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการแปรรูปก่อนล่วงหน้า, การกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค ฯลฯ และการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ผลิตจากความคิดที่อยากจะมอบวิธีการแก้ปัญหาต่อ “อาหาร” อย่างกว้างขวาง

โครงการนี้เช่นกัน ในครั้งนี้จะเข้าสู่ครั้งที่ 28 แล้ว เราคาดหวังถึงการนำเสนอเพื่อแสวงหา [ยอดผลผลิต] [การหมุนเวียนทรัพยากร] [ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ] ในเกษตรกรรมของญี่ปุ่นและทั่วโลก และการเติบโตของ “เกษตรกรรม” สู่ “อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร” ที่น่าดึงดูดใจจากนักศึกษาทุกท่าน เพื่อให้มีการถกปัญหากันเกี่ยวกับข้อเสนอ
ต่าง ๆ ต่อ [เกษตรกรรม] ต่อจากนี้ด้วยมุมมองที่อิสระและเปิดกว้าง และรวบรวมข้อเสนอแนะที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความฝันและความเยาว์วัยให้ได้มากที่สุด